การสร้างเว็บไซต์
CMS คืออะไร
CMS
ย่อมาจาก Content Management System เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป
โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม
ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ ตัวของ CMS เองจะมีโปรแกรมแถมมาและสามารถแทรกเองได้มากมายเช่น
webboard , ระบบจัดการป้ายโฆษณา , ระบบนับจำนวนผู้ชม
แม้แต่กระทั่งตระกร้าสินค้า และอื่นๆอีกมากมาย
ข้อดีของ CMS
1.ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการทำเว็บไซต์
เพียงแค่เคยพิมพ์ หรือเคยโพสข้อความในอินเทอร์เน็ต
ก็สามารถมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้
2.ไม่เสียเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์ ไม่เสียเงินจำนวนมาก
3.ง่ายต่อการดูแล เพราะมีระบบจัดการทุกอย่างให้เราหมด
4.มีระบบจัดการที่เราสามารถหามาใส่เพิ่มได้มากมาย อย่างเช่น ระบบแกลลอรี่
5.สามารถเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ได้ง่ายๆ เพียงแค่โหลดทีม (Theme) ของ CMS นั้นๆ
2.ไม่เสียเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์ ไม่เสียเงินจำนวนมาก
3.ง่ายต่อการดูแล เพราะมีระบบจัดการทุกอย่างให้เราหมด
4.มีระบบจัดการที่เราสามารถหามาใส่เพิ่มได้มากมาย อย่างเช่น ระบบแกลลอรี่
5.สามารถเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ได้ง่ายๆ เพียงแค่โหลดทีม (Theme) ของ CMS นั้นๆ
ข้อเสียของ CMS
1.ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการออกแบบทีม (หน้าตาของเว็บ)
เอง จะต้องใช้ความรู้มากกว่าปรกติ เนื้องจาก CMS มีหลายๆระบบมารวมกันทำให้เกิดความยุ่งยาก
สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้
2.ผู้ใช้จะต้องศึกษาระบบ CMS ที่ผู้พัฒนาสร้างขึ้นมา เช่นจะต้องใส่ข้อความลงตรงไหน จะต้องแทรกภาพอย่างไร ซึ่งจะลำบากเพียงแค่ช่วงแรกเท่านั้น
3.ในการใช้งานจริงนั้นจะมีความยุ่งยากในการ set up ครั้งแรกกับ web server แต่ปัจจุบันก็มีผู้บริการ web server มากมายที่เสนอลงและ set up ระบบ CMS ให้ฟรีๆโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
2.ผู้ใช้จะต้องศึกษาระบบ CMS ที่ผู้พัฒนาสร้างขึ้นมา เช่นจะต้องใส่ข้อความลงตรงไหน จะต้องแทรกภาพอย่างไร ซึ่งจะลำบากเพียงแค่ช่วงแรกเท่านั้น
3.ในการใช้งานจริงนั้นจะมีความยุ่งยากในการ set up ครั้งแรกกับ web server แต่ปัจจุบันก็มีผู้บริการ web server มากมายที่เสนอลงและ set up ระบบ CMS ให้ฟรีๆโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
เมื่อรวมๆข้อดีและข้อเสียดูแล้ว ก็ยังเห็นได้ว่า
CMS
นั้นก็เป็นระบบที่น่าใช้งานอยู่ดี
โปรแกรม อะไรที่ใช้สร้าง CMS
1.Mambo
2.Joomla
3.Wordpres
4.Drupal
ความนิยมของการเลือกใช้โปรแกรม
Domain Name คืออะไร
Domain Name (โดเมน)
คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ
ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ "ชื่อเว็บไซต์"
คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก
สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.ict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet
Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain
Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet
Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส
และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป
Sub Domain คืออะไร
Sub Domain ( ซับโดเมน )
คือ เว็บย่อยของเว็บไซต์ของเราอีกที โดยปกติถ้ามี Domain (โดเมน) ชื่อ www.pheruk.ac.th เราจะเข้าชมเว็บไซต์ของเราโดยพิมพ์ www.pheruk.ac.th
แต่หากเราต้องเข้าชมเว็บย่อยของเราจะต้องพิมพ์ http://domain.gict.co.th มีประโยชน์สำหรับท่านที่มีธุรกิจหลายประเภท เป็นการจำแนกแยกแยะหมวดหมู่ธุรกิจ
ข้อควรรู้ก่อนจดโดเมน
1.
ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
2.
Domain ต้องจดในชื่อของคุณเท่านั้น Domain Ownership
3.
ถ้าเป็น Domain ของบริษัท พยายามจดภายใต้ชื่อบริษัท อย่าจดด้วยชื่อพนักงาน IT
4.
ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
5.
ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับคุณตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับคุณ เรียกว่า Registrant E-Mail
6.
บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของคุณไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่น ๆ
หลักการตั้งชื่อโดเมน ภาษาไทย
1.
ชื่อ Domain จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์
พระราชวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์ และสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์
และพระบรมวงศานุวงศ์
2.
ชื่อ Domain จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
หรือองค์กรหนึ่งองค์กรใด
3.
ชื่อ Domain จะต้องไม่เป็นชื่อต่าง ๆ
ของประเทศไทย จังหวัด รวมถึงสถานที่อันเป็นสาธารณะต่าง ๆ ในประเทศ
4.
ชื่อ Domain จะต้องไม่ประกอบด้วยคำหยาบหรือคำที่ผิดต่อศีลธรรมอันดีงามของไทย
5.
ชื่อ Domain จะต้องมีความสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดกับชื่อโดเมนภาษาอังกฤษที่อ้างอิงดังนี้
ประเภทของ Domain
Name
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
2. โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ
1. โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
2. โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ
1.โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
จะประกอบด้วย www .
ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร
โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้
* .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
* .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ
จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
* .edu คือ สถาบันการศึกษา
* .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
* .mil คือ องค์กรทางทหาร
2.โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ
* .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .ac คือ สถาบันการศึกษา
* .go คือ องค์กรของรัฐบาล
* .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
* .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
* .th
คือ ประเทศไทย
* .cn
คือ ประเทศจีน
* .uk
คือ ประเทศอังกฤษ
* .jp
คือ ประเทศญี่ปุ่น
* .au
คือ ประเทศออสเตรเลีย
จะตรวจสอบ โดเมนเนมได้ที่ไหน
http://www.domainsbot.com/
https://www.godaddy.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น