ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Wordpress

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Wordpress
WordPress คืออะไร

WordPress หรือจะเรียกย่อๆ ในบางครั้งเป็น WP คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีไว้เพื่อสร้างและจัดการเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ต ( Contents Management System หรือ CMS) กล่าวคือ แทนที่เราจะดาวโหลดโปรแกรมมาทำการสร้างและออกแบบเว็บไซต์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอย่างเช่น Macromedia Dreamwaver, Microsoft Fontpage (มีใครทันรึเปล่า) เป็นต้น แต่ CMS นั้นถูกสร้างมาเพื่อใช้งานบนอินเตอร์เน็ตโดยตรง หมายความว่าเมื่อคุณจะใช้งานโปรแกรมนี้ คุณก็สามารถใช้ได้ทันทีผ่านอินเตอร์เน็ต เพียงแค่คุณล็อกอินเข้าสู่ระบบจัดการของ CMS นั้นๆ บางคนอาจจะคุ้นหูกับ cms เจ้าอื่น เช่น  joomla, simple machines, open cart, magento เป็นต้น
แม้แต่ CNN และ NASA ก็ยังใช้ WordPress แล้วคุณจะรู้ว่ามันไม่ยากเลย

ผู้ก่อตั้ง WordPress
1.Matt Mullenweg







2.Mike Little







3.Christine Tremoulet






ข้อดี-ข้อเสีย
ข้อดีของ CMS ก็คือ สะดวกต่อการใช้งาน คุณไม่ต้องเริ่มสร้างเว็บจาก 0 ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางโปรแกรมเมอร์ เพราะระบบมีทุกอย่างไว้ให้ คุณมีหน้าที่เพียงแค่ใส่เนื้อหาของคุณเข้าไป
ข้อเสียของ CMS คือ บางครั้งก็อาจมีมากเกินความจำเป็น


ขั้นตอนหลักๆ ของการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress คือ
1.คิดก่อนว่าคุณจะทำเว็บไซต์อะไร
2.หาธีมที่คุณชอบ
3.ติดตั้ง WordPress และ ติดตั้งธีม
4.ติดตั้งปลั๊กอินเสริม (หากจำเป็น)

WordPress เหมาะกับเว็บไซต์แบบใด
1.เว็บบล็อก เหมาะมากสุดๆ เป็น cms ที่บล็อกเกอร์ใช้งานมากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้
2.เว็บ Article เขียนบทความต่างๆ รีวิวโรงแรม ร้านอาหาร งานฝีมือ แอปมือถือ ฯลฯ
3.เว็บข่าว เว็บวาไรตี้ การจัดหมวดหมู่และแท็ก ( Categories, Tags ) ใน WordPress นั้นช่วยได้ง่ายมากๆ
4.เว็บ Portfolio เป็นผลมาจากการผสมเว็บบล็อก + Custom post type แบบ Portfolio ทำให้เกิด Post 2 ลักษณะนำมาใช้งานร่วมกัน
5.เว็บบริษัท มีธีมที่ดูน่าเชื่อถือ เป็น Professional ให้เลือกมากมาย มีเครื่องมือครบครันโดยเราแทบไม่ต้องจ้างออกแบบเพิ่ม
6.เว็บไซต์ e-commerce ขายเสื้อผ้า ปลากระป๋อง หรืออะไรก็แล้วแต่
7.นอกจากนี้ WordPress ยังสามารถสร้างเว็บบอร์ด และเว็บ community ได้ด้วย แต่ยังต้องอาศัยทักษะพอสมควร
8.เว็บไซต์ที่ต้องการความแรงในด้าน seo เพราะ WP ถือว่าเด่นในเรื่องนี้มากๆ เขียนเล่นๆ ก็ติดผลการค้นหาใน Google ได้
9.เว็บไซต์ที่มีหลายภาษา WordPress นั้นถูกแปลทั่วโลกรวมทั้ง ภาษาไทย และยังมีปลั๊กอินที่ช่วยจัดการเนื้อหาสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการใช้หลายภาษาด้วย

มารู้จัก WordPress.com และ WordPress.org ว่าต่างกันอย่างไร
มาถึงตอนนี้ หลายคนอาจสงสัยและเริ่มเสริชคำว่า WordPress ซึ่งตอนนั้นท่านอาจงงกับสิ่งที่เห็น ว่าทำไมมันมีทั้ง wordpress.com และ wordpress.org

wordpress.com  นั้นก็เปรียบเทียบได้กับ blogspot ของ google, bloggang ของ pantip นั่นเอง คือเป็นพื้นที่สำหรับเขียนบล็อกฟรี เราเพียงแค่เข้าไปลงทะเบียน แล้วก็จะได้ url เป็น http://ชื่อบล็อกเรา.wordpress.com แล้วก็เลือกธีมและพร้อมใช้งานได้เลย โดยจะมีพื้นที่ให้ใช้งานถึง 30GB สามารถซื้อโดเมน .com, .net หรืออะไรก็แล้วแต่ มาครอบเป็นชื่อเว็บของตัวเองได้เลย แต่ข้อจำกัดของการใช้บล็อกฟรีของ wordpress.com นี้คือ เราไม่สามารถที่จะทำการแก้ไขเทมเพลตด้วยตัวเราเองได้ หรือแม้แต่การแก้ไขดีไซน์ในส่วนของ CSS ก็ต้องเสียเงินจ่ายเพิ่มเป็นค่าบริการ $30/ปี และไม่สามารถลงปลั๊กอินเสริมอื่นๆ ที่เป็นจุดเด่นและข้อแตกต่างมากที่สุดของ wordpress.com และ wordpress.org และยังไม่สามารถสร้างรายได้จาก adsense ของ google ได้เหมือนกับการสร้างบล็อกที่ blogspot

wordpress.org  นั้นเป็น CMS ก็เหมือนการสกัดเอาตัวเครื่องในของ wordpress.com ออกมาให้เราใช้ต่างหาก โดยผู้ใช้เพียงแต่หา Hosting เป็นของตัวเอง จากนั้นก็นำตัว wordpress.org นี้ ไปติดตั้งที่โฮส ก็จะได้หน้าตาออกมาเหมือนกับตัว wordpress.com แทบจะทุกประการ เพียงแต่หากเราอยากได้ธีมอะไร ปลั๊กอินตัวไหน ก็สามารถติดตั้งเข้าไปภายหลังได้ มีอิสระในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างได้แบบ 100% เท่าที่เราจะสามารถ

ความแตกต่าง
ตอนแรกว่าจะทำตารางเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่าง wordpress.com และ wordpress.org แต่จริงๆ แล้วพอจะสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับความต่างของ 2 ตัวนี้ ที่สำคัญเลยดังต่อไปนี้

ด้านค่าใช้จ่าย
wordpress.com ไม่เสียค่าใช้จ่ายในส่วนของ Hosting แต่เสียค่าใช้จ่ายในส่วนของการปรับแต่ง Theme (เฉพาะ CSS)
wordpress.org เสียค่าใช้จ่ายในส่วนของ Hosting ที่เราต้องหาเอง แต่สามารถปรับแต่ง Theme ได้แบบเต็มรูปแบบ

ด้านการใช้งาน
wordpress.com  ไม่สามารถลงปลั๊กอินใดๆ เพิ่มได้ Theme มีให้เลือกจำนวนจำกัด
wordpress.org  สามารถลงปลั๊กอินใดๆ เพิ่มก็ได้ ลงธีมใดๆ ก็ได้ ซึ่งจุดเด่นของ WordPress ก็คือ Theme และ Plugin นี้เอง ปลั๊กอินและธีมมีเป็นหมื่นเป็นแสนให้เลือก ในขณะที่ wordpress.com ไม่มีปลั๊กอิน และมีธีมเพียงไม่กี่ร้อยธีมเท่านั้น

ขอบคุณจากแหล่งที่มาของเนื้อหา

http://www.wpthaiuser.com/wordpress-is/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น